ธรรมบรรยาย เพื่อความรู้แจ้ง แห่งวิถีทางดับทุกข์
เรื่อง พ้นทุกข์ ด้วยมรรค ๘
อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ณ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2556
[ ความเดิมจาก อริยสัจ 4 ใช่ที่เรารู้จักหรือไม่ ]
ผัสสะที่กระทบเข้ามาคืออาหารของวิญญาณ
ถ้าวิญญาณไม่มีที่อาศัยคือ ต้องเอาไอ้นี่ (ราคะ นันทิ ตัณหา) ออก
ทีนี้เราจะละสิ่งนี้ (ราคะ)
สิ่งนี้ (นันทิ) และสิ่งนี้ (ตัณหา) ได้ยังไง?
เดี๋ยวไปดูมรรคองค์ที่ 6, 7, 8 นั่นล่ะทางออกของเจ้าสามตัวนี้แหล่ะ
สามตัวนี้จะถูกเพิกถอนได้ด้วยมรรคองค์ที่ 6, 7, 8
พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้เลยว่าเริ่มการบรรยาย
ในปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ให้อาศัยอริยมรรคมีองค์แปด เดินทั้งแปดองค์เลย
พอปฏิบัติจนกระทั่งศีลบริบูรณ์พอสมควร จิตไม่วิ่งกลับไปเกาะที่ศีลอีก
ให้ใช้สติปัฏฐานสี่เป็นตัวเดิน จนกระทั่งเข้าสู่ความเป็นโสดาบัน
หลังจากนั้นให้ใช้ปฏิจจสมุปบาทเป็นที่นำทาง แล้วจะเข้าไปสู่ความเป็นพระอรหันต์เลย
นี่คือเส้นทางที่ลัดสั้นแล้วก็เร็วที่สุด
ในคนธรรมดาใช้อริยมรรคมีองค์แปดเป็นทางสายกลาง...แล้วเดินไปตามนั้นเลย
ครับ ก่อนอื่นก็ต้องขออนุโมทนากับยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์นะครับ
ที่ได้จัดให้มีการบรรยายในวันนี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง นะครับ ครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 3
ก็รู้สึกเป็นเกียรติ เป็นเกียรติทุกครั้งที่ได้เข้ามาในยุวพุทธิ เพราะว่า
ถึงวันนี้ก็ต้องยอมรับความจริงอย่างนึงนะครับว่า ยุวพุทธฯ ในวันนี้เป็นองค์กรที่....
องค์กรศาสนาที่วันนี้เข้มแข็งและก็แข็งแรง รวมถึง....เหมือนกับจะพูดคำง่ายๆว่า
เหมือนกับเป็นตลาดวิชาให้กับพวกเราชาวพุทธ สามารถเข้ามาเลือกช็อปปิ้งในสถานที่แห่งเดียวได้เลย
ซึ่งยุวพุทธฯ เปิดกว้างให้กับครูบาอาจารย์ที่ต้องการจะเผยแพร่ธรรมะ
ก็เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเราชาวพุทธทั้งหลาย ได้เลือกครูบาอาจารย์ที่เราถูกจริตด้วย
แล้วก็สอนได้ถูกต้องถูกตรงด้วย เป็นครูบาอาจารย์ที่เลิศคุณทั้งสิ้นเลยที่เดินทางเข้ามาตรงนี้
เอาละครับ วันนี้ ผมก็คงมาทำหน้าที่ต่อในส่วนที่ 3 ก็คือ เรื่องของมรรคมีองค์ 8
เมื่อครั้งที่แล้วพูดไปเรื่องของอริยสัจ 4 แต่ก็ต้องยอมรับว่า พูดไปพูดมา
ออกไปนอกอริยสัจ 4 เยอะเลย วันนี้กลับมาที่อริยสัจ 4 เป็นเบื้องต้นก่อน
เพราะจะพูดมรรคโดยไม่กล่าวถึงอริยสัจเลยนี่ คงทำไม่ได้แน่
เพราะอริยสัจ 4 เป็นหัวใจที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ในวันนั้น
และก็มีมรรคเป็นหนทางดำเนินไปสู่การพ้นทุกข์
เอ่อ... เดี๋ยวผมขอมือซักนิดนึงได้มั๊ยครับ ว่า มีใครมาวันนี้เป็นครั้งแรกครับ
ช่วยยกมือหน่อย โอ...ก็เยอะเหมือนกันเนอะ เอาละครับไม่เป็นไรครับ
เพราะว่าความจริงที่พูดมาทั้งหมด 2 ครั้งเนี่ย รู้วันนี้ เรื่องเดียวก็พอเลย ( หัวเราะ )
เพราะว่า มรรค ...รู้เรื่องเดียวก็พ้นทุกข์เลย ^ ^
เพราะไม่ว่าพูดเรื่องสติ เรื่องอะไรก็แล้วแต่ก็มาอยู่ในมรรคหมด
เราจะลองมาดูสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้กันนะครับว่าในวันเพ็ญเดือน 6
เมื่อ 2500กว่าปีที่แล้ว สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วท่านก็สอนเอาไว้เป็นอย่างไร
หากสิ่งที่ท่านได้อุปมาเอาไว้ คือความมีค่าที่อุปมาไว้....
[คลิปเสียง] การรู้อริยสัจควรแลกเอา แม้ถูกแทงด้วยหอก วันละ 300 ครั้ง 100 ปี
ภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุร้อยปี พึงกล่าวกะบุรุษผู้มีชีวิตร้อยปี อย่างนี้ว่า“เอาไหมล่ะ ท่านบุรุษผู้เจริญ! เขาจักแทงท่านด้วยหอกร้อยเล่มตลอดเวลาเช้า ร้อยเล่มตลอดเวลาเที่ยง ร้อยเล่มตลอดเวลาเย็นท่านบุรุษผู้เจริญ! เมื่อเขาแทงท่านอยู่ด้วยหอกสามร้อยเล่มทุกวันๆจนมีอายุร้อยปี มีชีวิตอยู่ร้อยปี โดยล่วงไปแห่งร้อยแล้วท่านจักรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ท่านยังไม่รู้เฉพาะแล้ว” ดังนี้.ภิกษุทั้งหลาย! กุลบุตรผู้ซึ่งประโยชน์ ควรจะตกลง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุว่า สังสารวัฏนี้มีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว ดังนั้น เบื้องต้นและที่สุดแห่งการประหาร ด้วยหอก ด้วยดาบ ด้วยหลาว ด้วยขวาน ก็จะไม่ปรากฏ นี้ฉันใด; ภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้ก็เป็นฉันนั้น: เรากล่าวการรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ ว่าเป็นไปกับด้วยทุกข์กับด้วยโทมนัสหามิได้; แต่เรากล่าวการรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ ว่าเป็นไปกับด้วยสุขกับด้วยโสมนัสทีเดียว.
อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า?สี่อย่างคือ...
- อริยสัจคือทุกข์,- อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์,- อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,- อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า- ทุกข์ เป็นอย่างนี้,- เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,- ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
- ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้
นี่คือความมีค่าของอริยสัจ ซึ่งพระพุทธเจ้าอุปมาไว้สิ่งที่ท่านตรัสต้องจริง และก็มีประโยชน์แน่ๆ
ที่นี้หากใครก็ตามพาเราไปบอกเราว่า
เช้ามาจะพาเราไปเอาหอกทิ่ม 100 ครั้ง กลางวัน 100ครั้ง เย็นร้อยครั้งอยู่ร้อยปีแล้วจะให้รู้อริยสัจ
ผมเชื่อว่า แทบจะไม่มีใครเลยที่ยอมตกลง ( หึหึ) แต่หากอย่างที่ท่านตรัสเอาไว้เว่า
สังสารวัฏนี้ หาต้นไม่ได้ หาปลายไม่เจอ
ถ้าไม่ได้รู้อริยสัจ จะต้องหมุนวนต่อไปอย่างนี้ หาปลายไม่เจอ เหมือนเดิม
แต่หากยอมเจ็บตัวแค่ติดต่อไปอีก 100 ปีทุกอย่าจะจบลง สังสารวัฏนี้จะจบลง
นี่คือความมีค่าที่กุลบุตรทั้งหลายควรจะตอบตกลง ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านได้ตรัสเอาไว้
นี่คือความมีค่า แสดงว่าเรายังไม่เห็นค่าของอริยสัจเท่ากับที่ท่านเห็น
แน่นอนที่สุด การสั่งสมบารมีมาอย่างมากมาย นานถึงสี่อสงไขยกับอีกแสนมหากัป
จากวันที่ท่านได้รับพุทธทำนาย จากพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร
จนถึงวันที่ท่านตรัสรู้ เป็นเวลาที่ยาวนานมากนะครับ
คุณค่าของอริยสัจ จึงยิ่งใหญ่ที่จะพาสรรพสัตว์ออกไปได้ หากเข้าถึง
เราลองดูความรีบด่วนที่ท่านอุปมาไว้
ครับ นั่นก็จัดว่า ดังนั้น พวกเราพึงประกอบโยคะกรรมอันเธอพึงกระทำเพื่อให้รู้ว่า
ทุกข์เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้ แล้วก็ไปถึงนิโรธแล้วก็มรรค
โยคะกรรม คืออะไร
โยคะกรรมตามคำแปลจากบาลี แปลว่าการกระทำอย่างเป็นระบบ อย่างมีรูปแบบ ด้วยความเพียร
การกระทำอย่างมีระบบ อย่างมีรูปแบบด้วยความเพียร
หลายคนบอกว่า ทำอย่างไม่มีรูปแบบได้มั๊ย คำว่ารูปแบบ ไม่ได้หมายถึงอย่างที่เราเข้าใจ
รูปแบบ แปลว่าการดำเนินของไปจิต ที่จะดำเนินไปอย่างมีรูปแบบ เป็นระบบ
วันนี้เราจะไปกันไม่รีบร้อน เพราะว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ ถ้าจำวันนี้ได้
แก่นแท้.... วันนี้ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มาทั้งหมดเนี่ย
ทุกข์เป็นอย่างนี้ สมุทัยเป็นอย่างนี้ นิโรธเป็นอย่างนี้ มรรคเป็นอย่างนี้ ที่ท่านตรัสเอาไว้ทั้งหมด
ทีนี้เรามาเรื่องของอริยสัจก่อนนะครับ
เพื่อที่เดี๋ยวเราจะพุ่งลงไปที่เรื่องของมรรคแล้วไปดูรายละเอียดในมรรคมีองค์ 8
แล้วเดี๋ยวตอนสุดท้ายเราจะเห็นเลยว่าทำไม มรรคมีองค์ 8 ถึงสามารถทำให้บุคคลธรรมดาเนี่ย
ก้าวเข้าสู่ความเป็นพระอรหันต์แล้วหมดทุกข์ไปได้ยังไง นะครับ
ใน 2 ชั่วโมงนี้ ผมเชื่อว่าจะเป็นบทสรุปที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงสิ่งที่ท่านตรัสว่าว่า
แต่หากยอมเจ็บตัวแค่ติดต่อไปอีก 100 ปีทุกอย่าจะจบลง สังสารวัฏนี้จะจบลง
นี่คือความมีค่าที่กุลบุตรทั้งหลายควรจะตอบตกลง ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านได้ตรัสเอาไว้
นี่คือความมีค่า แสดงว่าเรายังไม่เห็นค่าของอริยสัจเท่ากับที่ท่านเห็น
แน่นอนที่สุด การสั่งสมบารมีมาอย่างมากมาย นานถึงสี่อสงไขยกับอีกแสนมหากัป
จากวันที่ท่านได้รับพุทธทำนาย จากพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร
จนถึงวันที่ท่านตรัสรู้ เป็นเวลาที่ยาวนานมากนะครับ
คุณค่าของอริยสัจ จึงยิ่งใหญ่ที่จะพาสรรพสัตว์ออกไปได้ หากเข้าถึง
เราลองดูความรีบด่วนที่ท่านอุปมาไว้
ครับ นั่นก็จัดว่า ดังนั้น พวกเราพึงประกอบโยคะกรรมอันเธอพึงกระทำเพื่อให้รู้ว่า
ทุกข์เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้ แล้วก็ไปถึงนิโรธแล้วก็มรรค
โยคะกรรม คืออะไร
โยคะกรรมตามคำแปลจากบาลี แปลว่าการกระทำอย่างเป็นระบบ อย่างมีรูปแบบ ด้วยความเพียร
การกระทำอย่างมีระบบ อย่างมีรูปแบบด้วยความเพียร
หลายคนบอกว่า ทำอย่างไม่มีรูปแบบได้มั๊ย คำว่ารูปแบบ ไม่ได้หมายถึงอย่างที่เราเข้าใจ
รูปแบบ แปลว่าการดำเนินของไปจิต ที่จะดำเนินไปอย่างมีรูปแบบ เป็นระบบ
วันนี้เราจะไปกันไม่รีบร้อน เพราะว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ ถ้าจำวันนี้ได้
แก่นแท้.... วันนี้ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มาทั้งหมดเนี่ย
ทุกข์เป็นอย่างนี้ สมุทัยเป็นอย่างนี้ นิโรธเป็นอย่างนี้ มรรคเป็นอย่างนี้ ที่ท่านตรัสเอาไว้ทั้งหมด
ทีนี้เรามาเรื่องของอริยสัจก่อนนะครับ
เพื่อที่เดี๋ยวเราจะพุ่งลงไปที่เรื่องของมรรคแล้วไปดูรายละเอียดในมรรคมีองค์ 8
แล้วเดี๋ยวตอนสุดท้ายเราจะเห็นเลยว่าทำไม มรรคมีองค์ 8 ถึงสามารถทำให้บุคคลธรรมดาเนี่ย
ก้าวเข้าสู่ความเป็นพระอรหันต์แล้วหมดทุกข์ไปได้ยังไง นะครับ
ใน 2 ชั่วโมงนี้ ผมเชื่อว่าจะเป็นบทสรุปที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงสิ่งที่ท่านตรัสว่าว่า
โยคะกรรมอันพึงกระทำ
แล้วเมื่อไหร่ที่เราเข้าใจแล้วเนี่ย เรื่องที่เราจะมานั่งถกเถียง ทะเลาะ กันว่าทำไมที่นั่นอย่างนั้น ที่นี่อย่างนี้
ผมรับรองว่าทันทีที่ท่านเดินพ้นประตูนี้กลับออกไป ท่านจะไม่รู้สึกตรงนั้นอีกเลย
ท่านจะเห็นเลยว่า ที่ครูบาอาจารย์ที่บอกว่า ถึง.. ท่านสอนมาแบบนั้นแบบนี้
จะกลายเป็นว่า เข้าไปสู่จุดเดียวกันหมดเลย นะครับไม่ว่าจะสอนแบบไหนก็ตาม
ที่นี้ พอเราได้ยินเรื่องความมีค่า ความรีบด่วน
เราลองมาดูกันว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้หรือว่าที่ท่านตรัสรู้อริยสัจเนี่ย
คือความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ
ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นพระอริยะ เนี่ยมีอะไรบ้าง
แล้วเมื่อไหร่ที่เราเข้าใจแล้วเนี่ย เรื่องที่เราจะมานั่งถกเถียง ทะเลาะ กันว่าทำไมที่นั่นอย่างนั้น ที่นี่อย่างนี้
ผมรับรองว่าทันทีที่ท่านเดินพ้นประตูนี้กลับออกไป ท่านจะไม่รู้สึกตรงนั้นอีกเลย
ท่านจะเห็นเลยว่า ที่ครูบาอาจารย์ที่บอกว่า ถึง.. ท่านสอนมาแบบนั้นแบบนี้
จะกลายเป็นว่า เข้าไปสู่จุดเดียวกันหมดเลย นะครับไม่ว่าจะสอนแบบไหนก็ตาม
ที่นี้ พอเราได้ยินเรื่องความมีค่า ความรีบด่วน
เราลองมาดูกันว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้หรือว่าที่ท่านตรัสรู้อริยสัจเนี่ย
คือความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ
ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นพระอริยะ เนี่ยมีอะไรบ้าง
ซึ่งแน่นอนที่สุดว่า ทุกคนคงเคยได้ยินกันมาอยู่แล้วนะครับว่า คำว่า "ทุกข์"
ทุกข์ คืออะไร หลายคนเข้าใจกันได้แต่พอมาได้ยินคำว่า อุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์
ตรงนี้อาจทำให้หลายท่านเกิดสับสน เพราะว่าเราอาจจะไม่คุ้นเคยกับขันธ์ 5
เราก็เลยยังไม่คุ้นเคยว่า ทำไมอุปาทานขันธ์ทั้ง 5 จึงทำให้ก่อเกิดทุกข์ ในทุกวันนี้
แต่ผมบอกได้เลยว่า ความทุกข์ของทุกคนในโลกนี้ทั้ง 6 พันล้าน รวมถึงเทวดาแล้วก็ในภูมิต่างๆเนี่ย
ล้วนมาจากอุปาทานขันธ์ทั้ง 5 ทั้งสิ้น
เมื่อไหร่ก็ตามที่การปฏิบัติภาวนาเข้าไปถึงจุดที่ เข้าไปเห็นขันธ์ เข้าไปเห็นรู้จักขันธ์
ไม่ใช่รู้จักจากการท่องจำนะครับ เข้าไปรู้จักด้วยการสัมผัส
เกิดการประจักษ์แจ้ง สิ่งหนึ่งที่จะตามมาทันทีเมื่อจิตตั้งมั่นในการรู้จักขันธ์ทั้งหลาย
ก็คือรูปนามเนี่ย สิ่งหนึ่งที่จะตามมาเลยก็คือ ท่านจะเข้าไปเห็นไตรลักษณ์ คือความจริง
เมื่อเห็นไตรลักษณ์ ไม่ว่าตัวใดตัวหนึ่ง เอาเป็นว่า ง่ายๆที่สุด ... อนิจจัง
เมื่อเห็นอนิจจัง คือ รูปที่เราเข้าไปยึดถือ
เรามองดูกระจกปั๊บ เห็นสิวบ้าง เป็นอะไรต่ออะไรบ้างที่เกิดขึ้นที่ร่างกาย
จะรู้สึกเป็นทุกข์ทันทีแค่เห็นกระจก เห็นภาพที่สะท้อนมาจากในกระจก
ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เพราะมันเกิดอุปาทานในความยึดติดในรูป ก็คือในกายของเราเองนี่แหละ ง่ายๆ
เราไปยึดมันเอาไว้ พอมันไปเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เป็นอย่างที่เราชอบ มันก็เป็นทุกข์
นี่ก็คืออุปาทานในรูปขันธ์เท่านั้นเอง ไม่ว่าจะจับตรงไหน
ถ้านั่งคิดถึงใครแล้วเป็นทุกข์
อาจจะแว๊บแรก เห็นหน้าคนที่ไม่ชอบ แล้วก็เป็นทุกข์ ก็เกิดอุปาทานในสัญญาที่มันแว๊บขึ้นมาในใจ
ไปยึดสัญญาตรงนั้น ไปยึดเรื่องเก่าๆ มันก็เป็นทุกข์ทันที
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะไปจับตัวไหน ตอนไหน ขณะไหน ขึ้นมาชี้
แล้วก็สามารถอธิบายได้ด้วยอุปาทานขันธ์ 5เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้ทั้งหมดเล
ดังนั้น ที่สุดแห่งทุกข์ก็คือ ปล่อยอุปาทาน นั้นออกจากขันธ์ แล้วสลัดคืนสู่ธรรมชาติไป
เรื่องมันจบแค่นี้เอง ทีนี้ เวลาพูด ง่าย! นะครับ
มันจึงต้องมีเส้นทางการเดิน มีบันไดที่จะไปถึง
แต่ละคน แต่ละท่านที่มานั่งกันอยู่ ณ ที่นี้ ในศูนย์ปฏิบัติธรรม หรือว่า กำลังปฏิบัติตามการเจริญมรรคเนี่ย
แต่ละคนอยู่ในบันไดที่ต่างกันหมดเลย เพราะฉะนั้น ในบันไดที่ต่างกันเนี่ย
การจะพูดให้ทุกคนที่ยืนอยู่บนบันไดที่ต่างกันเข้าใจ ก็ต้องพูดในภาพรวมทั้งหมด
ส่วนใครจะยืนอยู่ตรงไหน ก็ค่อยไปว่ากันเป็นตัวบุคคลไป ท่านก็จะทราบได้เอง นะครับ
ทีนี้ พอมาถึงเรื่องทุกข์ เรามาเน้นที่อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์ก่อน
เรื่องทุกข์อื่นๆ การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก สิ่งที่เป็นที่พอใจอะไรอย่างนี้ เราเข้าใจกันได้อยู่แล้ว
นะครับ เราเข้าใจกันได้อยู่แล้ว
ทีนี้ โดยหลักๆทุกข์เกิดขึ้นจากอุปาทานขันธ์
แต่มันมีเหตุให้เกิดทุกข์ คือ สมุทัย ที่พระพุทธเจ้าชี้เแจงเอาไว้ เป็นเรื่องของ ตัณหา 3
คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
คือสภาพที่บีบคั้นอยู่ในใจ นะครับ สภาพที่บีบคั้นอยู่ในใจตัวนี้เนี่ย เป็นทุกข์ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา
ที่มันบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นะครับ เดี๋ยวเราจะว่ากันอีกทีนึง
ทีนี้ ในตัณหาที่บีบคั้น เอ้า ยกตัวอย่างให้ท่านพอเข้าใจ
ถ้าท่านไปที่ห้างสรรพสินค้า ... ไปเห็นกระบะ sale นะ ลด 50 % ก็ดี ลด 60 % ก็ดี
มันก็จะเกิด ...โอ๊ย อยากซื้อ ! แต่ในใจตอนนั้นอาจจะไม่ได้เอาเงินไป หรือว่า ไม่พร้อมที่จะซื้อ
พอกลับไปบ้านจิตมันหวนคิดถึงเรื่องนี้ปั๊บ มันก็เกิดบีบคั้นขึ้นมา
โอ๊ย เมื่อกี้น่าจะซื้อเนอะ ป่านนี้คงหมดแล้วมั๊ง อะไรต่อมิอะไร มาบีบคั้น บีบคั้นตรงเนี้ยะ
เกิดเป็นกามตัณหาขึ้นมา อยากได้ .... นะครับ อยากได้สิ่งเหล่านั้น อยากได้เสื้อผ้าตัวนั้นน่ะ
มันก็เกิดการบีบคั้น เกิดตัณหา ที่เป็นเหตุทำให้เกิดทุกข์... ที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
สมมุติเราย้อนกลับไป สมมุติว่าเรากลับไปที่ห้างสรรพสินค้า เห็นกะบะ sale
ทันที่ที่เราเห็นกระบะ sale เห็นเสื้อถูกใจที่อยู่ในกระบะปั๊บ!! เนี่ย
สิ่งหนึ่งที่เรารู้สึกได้ก็คือ ถ้าเราได้สิ่งนี้ ถ้าเราได้เสื้อตัวนั้นมาเป็นเจ้าของเนี่ย เราจะมีความสุข
แต่ถ้าเราไม่ได้สมปรารถนาเนี่ย เราจะเป็นทุกข์ ....นี่คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
แต่หาก พอภาพเสื้อกระทบตา ปั้ง ! มันเห็นความบีบคั้น ที่เป็นตัณหา บีบคั้นขึ้นมาในใจ
ขณะนั้น ใครที่ภาวนาไปถึงจุดนั้นปั๊บ !
พอกระทบ ปั้งนี่ มันรู้สึกเลยว่า อืมม...ทุกข์เกิดแล้ว!!
เออ !! ถ้าอย่างนี้ ท่านเริ่มสวนทางกับชาวโลกแล้ว
ท่านไม่ได้ ว่า ถ้าได้ชั้นจะเป็นสุข ถ้าไม่ได้ชั้นจะเป็นทุกข์ ไม่ใช่แล้ว !
พอมันกระทบปั้ง !! เห็นตรงนี้ปั๊บ!! เห็นทุกข์เกิดเลย เห็นทุกข์เกิดเลย
เมื่อความตั้งมั่นสูงขึ้น ๆ เมื่อภาวนาหรือปฏิบัติไป จะเห็นเลยว่าที่ กระทบเข้ามาแล้วมาเป็นตัณหานี่
จากชอบแล้วบีบคั้นเข้ามานี่ เห็นเลยว่าตัณหาเป็นตัวทำให้เกิดทุกข์
เพราะฉะนั้น วันนี้ ถ้าเราไม่ได้ปฏิบัติเลยเนี่ย
หรือคนทั่วไปที่ยังไม่ได้ปฏิบัติเลยเนี่ย จิตยังจะล็อคเป้าไม่ถูก
ไม่รู้ว่าอะไรคือเหตุให้เกิดทุกข์ เพราะยังไม่รู้จักทุกข์ด้วยซ้ำ
มันแค่ว่า ถ้าชั้นไม่ได้ ชั้นจะเป็นทุกข์
เป็นทุกข์ กับ การเห็นทุกข์ หรือรู้ทุกข์เนี่ย....มันคนละส่วนกัน มันคนละส่วนกัน
ที่นี้เราข้ามต่อไป จากสมุทัย ก็มาถึงนิโรธ ความดับทุกข์
ความดับทุกข์ คืออะไร .... คือภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป
เมื่อกี้เราเพิ่งพูดถึงตัณหา นะครับ ตัณหาที่เราพูดถึงเมื่อกี้
คือ พอเห็นเสื้อตัวโปรดปั๊บ อยากได้ มันบีบคั้นปั๊บ ตอนนี้ ตัณหาเกิดขึ้น
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป
หากมีใครซักคนนึง ฝึกมาจนกำลังความตั้งมั่น กำลังของสติ ใช้ได้ !
ขณะที่ความบีบคั้นเกิดขึ้น สติระลึกว่า ความทุกข์เกิด กำลังมากพอ จิตตั้งมั่น ตรงนั้นมันดับวั๊บไปเลย
นะครับ เกิดเป็นนิโรธ ในระดับที่ 2 เพราะฉะนั้น มันจึงเกิดการดับ
เพราะว่ามันมีการปล่อย ตัณหา เพราะว่าการเห็นรูปนามตามความเป็นจริง
มันเกิดการปล่อย ... ตัณหา ดับ วั๊บลงไป สภาพของนิโรธ เกิดตอนนั้นเลย
อย่างที่ผมบรรยายไว้ตั้งแต่ครั้งแรก ....
ถ้านี่เป็นทุกข์ (ของในมือ )นะครับ
พอสติระลึกปั๊บ ......
แล้วมันปล่อย...ปล่อยตัณหาออก ...
นิโรธอยู่ตรงนี้เลย!!
เพราะฉะนั้น เมื่อไหร่ยังมีตัณหา ไม่มีนิโรธ
เมื่อไหร่ปล่อย นิโรธอยู่ตรงนั้น จึงไม่ต้องไปหานิโรธที่ไหน
เมื่อไหร่ละสมุทัยได้ นิโรธจะแจ้งขึ้นมาทันทีเลย
ลองอ่านดูก็ได้ นะครับ แล้วก็ตอนสุดท้าย ก็คือ สภาพนี้คือ นิพพาน
นิพพานก็ว่ากันไปเรื่อยๆจนถึงที่สุดคือ นิพพานในระดับถึงเข้าพระอรหันต์
เป็นมหาสุญญตา ก็จบกัน
ทีนี้ มาถึงอรยสัจ ข้อที่ 4 ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แปลเป็นไทยว่า ปฏิปทานำไปสู่ความดับแห่งทุกข์
ได้แก่ อริยอัฐฐังคิกมรรค ... อริยอัฐฐังคิกมรรค นี่ก็คือ อัฎฐะเวลาที่เราสวดตอนถือศีลแปด
ก็คือ อัฐฐังคิกมรรค... อริยมรรคมีองค์ 8 ก็คือ ทางสายกลาง
สรุปลงในไตรสิกขา ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือว่า ปัญญา ศีล สมาธินั่นเอง
เมื่อไล่ตามมรรคมีองค์ 8 ก็คือ ปัญญา ศีล สมาธิ เดี๋ยวเราจะไปดูกันในตอนท้ายนะครับ ไม่เป็นไร
ให้เราเห็นก่อนว่า มรรค มีความเชื่อมโยงมาจากงอริยสัจ 4 ตรงนี้ นะครับ
เพราะฉะนั้น ทุกข์เป็นอย่างไร จะรู้ว่าทุกข์เป็นอย่างไร
จะพ้นจากความเป็นปุถุชนเมื่อเป็นทุกข์ หรือว่าเวลาที่เห็นอะไรแล้วอยากได้
ถ้าได้แล้วชั้นจะเป็นสุข ไม่ได้จะเป็นทุกข์
ตรงนี้เรายังไม่รู้ทุกข์ ยังไม่รู้จักทุกข์ มาถึงเหตุให้เกิดทุกข์ ในเมื่อทุกข์ยังไม่รู้เลย
แค่รู้ว่าถ้าชั้นได้ ชั้นจะมีความสุขแล้วก็ลืมสิ่งเหล่านี้ไป
เดี๋ยวสิ่งนั้น สูญสลายดับหายไป มันก็เป็นทุกข์อยู่ดี
เมื่อไม่รู้ทุกข์ ! เหตุให้รู้จักทุกข์ไม่เกิดแน่นอน คือสมุทัย ... นิโรธก็ยังไม่เกิด
เพราะว่า 2 ตัวแรกทางสายเกิดก็ยังไม่รู้จัก เพราะฉะนั้น สายดับ ก็ยังไม่มี
เพราะฉะนั้น ข้อสุดท้ายก็คือมรรค ทำยังไงถึงจะเป็นไปตาม ที่พระพุทธเจ้าบอก
เพราะว่าท่านตรัสเอาไว้ว่า มีกิจในอริยสัจ 4 อีก
กิจในอริยสัจ 4 คือ ปริญญา ทุกข์ควรรู้
เรารู้จักอริยสัจ 4 เป็นส่วนใหญ่ แต่เราไม่ค่อยรู้จักกิจในอริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้
เพราะว่าพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ก่อนที่จะมาปฏิญญาตนเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านจะต้องผ่านปริวัฎ 2 ก็คือ กิจในอริยสัจ ท่านตรัสรู้แล้วว่า ทุกข์เป็นอย่างนี้
สมุทัยเป็นอย่างนี้ นิโรธ เป็นอย่างนี้ มรรค เป็นอย่างนี้
พอปริวัฎที่ 2 ท่านจะรู้ว่าควรทำอย่างไร กิจในทุกข์ คือ ทุกข์ควรรู้
กิจสมุทัย คือ ทุกข์ควรละ คือ ปาหนะ ในภาษบาลี แล้วกิจในนิโรธ ล่ะ
กิจในนิโรธคือ ควรทำให้แจ้ง การบรรลุเข้าถึงภาวะปราศจากจุดมุ่งหมาย ก็คือ นิโรธควรทำให้แจ้ง
แจ้งมาจากการละสมุทัยเมื่อสักครู่นี้ แล้วมรรคล่ะ
มรรค ควรเจริญ ก็คือการภาวนา ภาษาบาลีแปลว่าการภาวนา
ดังนั้นเวลาที่ท่านบอกว่าจะไปภาวนาที่นี่ จะไปภาวนาที่โน่น
ดังนั้น พวกเราทั้งหลาย พอเราเริ่มเข้าใจในทุกข์
สมมุติบางคนถนัดที่จะรู้ทุกข์เนี่ย ถนัดที่จะรู้ทุกข์
ท่านก็ตรัสว่า ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นแม้เหตุให้เกิดทุกข์
ย่อมเห็นแม้ทางดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ย่อมเห็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
แล้วมันปล่อย...ปล่อยตัณหาออก ...
นิโรธอยู่ตรงนี้เลย!!
เพราะฉะนั้น เมื่อไหร่ยังมีตัณหา ไม่มีนิโรธ
เมื่อไหร่ปล่อย นิโรธอยู่ตรงนั้น จึงไม่ต้องไปหานิโรธที่ไหน
เมื่อไหร่ละสมุทัยได้ นิโรธจะแจ้งขึ้นมาทันทีเลย
ลองอ่านดูก็ได้ นะครับ แล้วก็ตอนสุดท้าย ก็คือ สภาพนี้คือ นิพพาน
นิพพานก็ว่ากันไปเรื่อยๆจนถึงที่สุดคือ นิพพานในระดับถึงเข้าพระอรหันต์
เป็นมหาสุญญตา ก็จบกัน
ทีนี้ มาถึงอรยสัจ ข้อที่ 4 ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แปลเป็นไทยว่า ปฏิปทานำไปสู่ความดับแห่งทุกข์
ได้แก่ อริยอัฐฐังคิกมรรค ... อริยอัฐฐังคิกมรรค นี่ก็คือ อัฎฐะเวลาที่เราสวดตอนถือศีลแปด
ก็คือ อัฐฐังคิกมรรค... อริยมรรคมีองค์ 8 ก็คือ ทางสายกลาง
สรุปลงในไตรสิกขา ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือว่า ปัญญา ศีล สมาธินั่นเอง
เมื่อไล่ตามมรรคมีองค์ 8 ก็คือ ปัญญา ศีล สมาธิ เดี๋ยวเราจะไปดูกันในตอนท้ายนะครับ ไม่เป็นไร
ให้เราเห็นก่อนว่า มรรค มีความเชื่อมโยงมาจากงอริยสัจ 4 ตรงนี้ นะครับ
เพราะฉะนั้น ทุกข์เป็นอย่างไร จะรู้ว่าทุกข์เป็นอย่างไร
จะพ้นจากความเป็นปุถุชนเมื่อเป็นทุกข์ หรือว่าเวลาที่เห็นอะไรแล้วอยากได้
ถ้าได้แล้วชั้นจะเป็นสุข ไม่ได้จะเป็นทุกข์
ตรงนี้เรายังไม่รู้ทุกข์ ยังไม่รู้จักทุกข์ มาถึงเหตุให้เกิดทุกข์ ในเมื่อทุกข์ยังไม่รู้เลย
แค่รู้ว่าถ้าชั้นได้ ชั้นจะมีความสุขแล้วก็ลืมสิ่งเหล่านี้ไป
เดี๋ยวสิ่งนั้น สูญสลายดับหายไป มันก็เป็นทุกข์อยู่ดี
เมื่อไม่รู้ทุกข์ ! เหตุให้รู้จักทุกข์ไม่เกิดแน่นอน คือสมุทัย ... นิโรธก็ยังไม่เกิด
เพราะว่า 2 ตัวแรกทางสายเกิดก็ยังไม่รู้จัก เพราะฉะนั้น สายดับ ก็ยังไม่มี
เพราะฉะนั้น ข้อสุดท้ายก็คือมรรค ทำยังไงถึงจะเป็นไปตาม ที่พระพุทธเจ้าบอก
เพราะว่าท่านตรัสเอาไว้ว่า มีกิจในอริยสัจ 4 อีก
กิจในอริยสัจ 4 คือ ปริญญา ทุกข์ควรรู้
เรารู้จักอริยสัจ 4 เป็นส่วนใหญ่ แต่เราไม่ค่อยรู้จักกิจในอริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้
เพราะว่าพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ก่อนที่จะมาปฏิญญาตนเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านจะต้องผ่านปริวัฎ 2 ก็คือ กิจในอริยสัจ ท่านตรัสรู้แล้วว่า ทุกข์เป็นอย่างนี้
สมุทัยเป็นอย่างนี้ นิโรธ เป็นอย่างนี้ มรรค เป็นอย่างนี้
พอปริวัฎที่ 2 ท่านจะรู้ว่าควรทำอย่างไร กิจในทุกข์ คือ ทุกข์ควรรู้
กิจสมุทัย คือ ทุกข์ควรละ คือ ปาหนะ ในภาษบาลี แล้วกิจในนิโรธ ล่ะ
กิจในนิโรธคือ ควรทำให้แจ้ง การบรรลุเข้าถึงภาวะปราศจากจุดมุ่งหมาย ก็คือ นิโรธควรทำให้แจ้ง
แจ้งมาจากการละสมุทัยเมื่อสักครู่นี้ แล้วมรรคล่ะ
มรรค ควรเจริญ ก็คือการภาวนา ภาษาบาลีแปลว่าการภาวนา
ดังนั้นเวลาที่ท่านบอกว่าจะไปภาวนาที่นี่ จะไปภาวนาที่โน่น
การภาวนา ก็คือ การที่มาเจริญมรรคนั่นเอง นะครับ
ในภาษาบาลี คำว่าภาวนา ก็คือ มรรคควรเจริญ ควรจะภาวนา ภาวนาแล้วจะทำให้จิตใจเจริญขึ้น
จนกระทั่งเห็นความจริง เพราะฉะนั้น พอพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเห็น
ถึงปรวัฎรอบที่ 2 ทุกข์ควรรู้ สมุทัยควรละ นิโรธ ควรทำให้แจ้ง มรรคควรเจริญ
พอถึงรอบที่ 3 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าสู่ปริวัฎ 3
ทุกข์เป็นอย่างนี้ ทุกข์ควรรู้เรารู้แล้ว กิจอื่นที่ต้องทำในทุกข์ไม่มีอีก นะครับ อันนี้คือรอบที่ 3
สมุทัยเป็นอย่างนี้ ท่านก็เห็นแล้ว สมุทัยควรละ ท่านก็ละแล้ว กิจในสมุทัยที่เราต้องทำไม่มีอีกแล้ว ก็จบ
จนกระทั่งเห็นความจริง เพราะฉะนั้น พอพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเห็น
ถึงปรวัฎรอบที่ 2 ทุกข์ควรรู้ สมุทัยควรละ นิโรธ ควรทำให้แจ้ง มรรคควรเจริญ
พอถึงรอบที่ 3 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าสู่ปริวัฎ 3
ทุกข์เป็นอย่างนี้ ทุกข์ควรรู้เรารู้แล้ว กิจอื่นที่ต้องทำในทุกข์ไม่มีอีก นะครับ อันนี้คือรอบที่ 3
สมุทัยเป็นอย่างนี้ ท่านก็เห็นแล้ว สมุทัยควรละ ท่านก็ละแล้ว กิจในสมุทัยที่เราต้องทำไม่มีอีกแล้ว ก็จบ
มาถึงนิโรธ ก็เหมือนกัน นิโรธเป็นอย่างนี้ อย่างนี้
กิจในนิโรธคือ นิโรธควรทำให้แจ้ง เราได้ทำจนแจ้งหมดสิ้นแล้ว
กิจที่ต้องทำในนิโรธไม่มีอีกแล้ว นะครับ
มาถึงมรรค มรรคควรเจริญ เราได้เจริญจนถึงที่สุดแล้ว กิจอื่นที่ต้องทำในมรรคไม่มีอีกแล้ว
เมื่อครบอาการ 12 ปรวัฎ 3 พระพุทธเจ้าก็ปฏิญาณตนเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย
ดังนั้น พวกเราทั้งหลาย พอเราเริ่มเข้าใจในทุกข์
เราจะเข้าใจในสิ่งนี้ได้ เราก็จึงต้องเข้าใจกิจในอริยสัจ นะครับ
เอาล่ะ ตอนนี้เรารู้ที่มาของอริยสัจสี่แล้ว วันนี้เราจะมาศึกษาแนวทางตามของท่านในเรื่องของมรรค
เพราะถ้าเราไม่เจริญมรรค เราจะไม่รู้เลยว่า
เอาล่ะ ตอนนี้เรารู้ที่มาของอริยสัจสี่แล้ว วันนี้เราจะมาศึกษาแนวทางตามของท่านในเรื่องของมรรค
เพราะถ้าเราไม่เจริญมรรค เราจะไม่รู้เลยว่า
ทุกข์เป็นอย่างนี้
สมุทัยควรจะละอย่างไร
แล้วก็นิโรธควรทำให้แจ้งอย่างไร
เพราะว่าทั้งหมดทั้งสิ้นขึ้นอยู่กับมรรคเลย
หลายคนปฏิบัติภาวนามาก็ยาวนานนะครับ
หลายคนปฏิบัติภาวนามาก็ยาวนานนะครับ
แต่กลับไม่ได้ให้ความสำคัญหรือไม่เคยรู้เลยว่ามรรคเป็นอย่างไร
หลายคนก็บอกว่า ชั้นก็รู้สึกตัวนะ ชั้นก็ฝึกที่จะรู้อาการต่างๆ ทุกข์เกิดขึ้น
หลายคนก็บอกว่า ชั้นก็รู้สึกตัวนะ ชั้นก็ฝึกที่จะรู้อาการต่างๆ ทุกข์เกิดขึ้น
ความโกรธเกิดขึ้น แต่ท่านก็ไม่รู้ว่าจนป่านนี้แล้วทำไมยังเดินทางไปไม่ถึงไหน
บางท่านทำไมเดินทางไปได้ดีจัง เพราะเค้าก็ไม่รู้มรรคเหมือนกับชั้นนี่แหละ ....
แต่เผอิญว่า สิ่งที่เค้าทำ ....เดี๋ยวท่านก็จะรู้เอง
รู้หรือไม่รู้ว่ามันเป็นยังไง มันไม่เป็นสาระ แต่ถ้าท่านไปทำโดนเค้า ก็แค่นั้นเอง
แต่ถ้าเราได้รู้ไว้เราก็นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง
อีกอันนึงที่ผมคิดว่าจะเป็นเรื่องสำคัญ ก็คือว่า สิ่งที่ท่านตรัสเอาไว้มีอย่างหนึ่งคือ
ท่านเห็นว่า อริยสัจ 4 เห็นเนื่อง เนื่องกันจนเห็นอย่างเดียวกันไม่ได้
รู้หรือไม่รู้ว่ามันเป็นยังไง มันไม่เป็นสาระ แต่ถ้าท่านไปทำโดนเค้า ก็แค่นั้นเอง
แต่ถ้าเราได้รู้ไว้เราก็นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง
อีกอันนึงที่ผมคิดว่าจะเป็นเรื่องสำคัญ ก็คือว่า สิ่งที่ท่านตรัสเอาไว้มีอย่างหนึ่งคือ
ท่านเห็นว่า อริยสัจ 4 เห็นเนื่อง เนื่องกันจนเห็นอย่างเดียวกันไม่ได้
ซึ่งตรงนี้ทำให้พวกเราไปเห็นอีกอย่างหนึ่ง
สมมุติบางคนถนัดที่จะรู้ทุกข์เนี่ย ถนัดที่จะรู้ทุกข์
ท่านก็ตรัสว่า ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นแม้เหตุให้เกิดทุกข์
ย่อมเห็นแม้ทางดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ย่อมเห็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
พูดง่ายๆคือ ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นจะเห็นสมุทัย ผู้นั้นจะเห็นนิโรธ ผู้นั้นจะเห็นมรรค ขึ้นมาด้วย
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเห็นเหตุให้เกิดทุกข์ คือผู้ใดเห็นสมุทัย
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเห็นเหตุให้เกิดทุกข์ คือผู้ใดเห็นสมุทัย
ผู้นั้นย่อมเห็นแม้นทุกข์ ย่อมเห็นแม้นนิโรธ ย่อมเห็นแม้นมรรค
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเห็นนิโรธ ผู้นั้นย่อมเห็นแม้นทุกข์ ย่อมเห็นแม้นสมุทัย ย่อมเห็นแม้นมรรค
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเห็นมรรค ผู้นั้นย่อมเห็นแม้ทุกข์ ย่อมเห็นสมุทัย ผู้นั้นย่อมรู้แจ้งในนิโรธ
แสดงว่าในอริยสัจ 4 เนี่ย จับตัวใดตัวหนึ่งเนี่ย อีกสามตัวจะติดขึ้นมาด้วยเลย
เหมือนกับคล้ายๆกับถ้าเป็นสร้อยไข่มุก 4 วง ดึงวงไหนขึ้นมา อีก 3 ตัวติดขึ้นมาด้วยหมดเลย
คล้ายๆเชือกผูกติดกันไว้ เพราะเป็นสายเกิดสายดับ ไปรู้ตรงไหนเนี่ย อีก 3 ตัวก็ขึ้นมาด้วย
เพราะฉะนั้น ถ้าเรามาเห็นสำนักไหน บางสำนักให้ไปรู้ทุกข์ บางสำนักให้ละสมุทัย
บางสำนักให้ไปอะไรอย่างเนี้ยนะครับ ก็จะเห็นเลยว่า ออ จับขึ้นมา จับขึ้นมา
บางสำนักก็ให้เจริญมรรค อีก 3 ตัวก็ขึ้นกันมาหมด..........
อันนี้คือคำตรัสของพระพุทธเจ้า แล้วเดี๋ยวเราจะไปเห็นในรายละเอียดของมรรคอีกครั้งหนึ่ง
ก่อนที่เราจะไปถึงตรงนั้น ... วันนี้ เราจะมาดูสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านตรัส
เพราะเรื่องนี้เนี่ย ผมอยากให้พวกเราทุกคนที่เป็นชาวพุทธเนี่ย กลับไปสู่สมัยพุทธกาลจริงๆ
ผมจะไม่เอาความคิดเห็นออกมาแสดงอะไรมากมายนัก เพียงแต่นอกจากจะทำให้ท่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น
เพราะฉะนั้น จากตรงนี้ไปเราจะมาสวดอริยมรรคมีองค์ 8 ด้วยกันก่อน
ซึ่งจะทำให้เราเข้าถึงแก่นแท้สิ่งที่ท่านสอนได้
ทุกท่านพนมมือแล้วสวดตามเสียงพระเลยนะครับ
[ เสียงสวดอริยมรรคมีองค์ 8 ] ฉบับเต็ม
จบส่วนของการบรรยายในภาพรวมของอัฐฐํงคิกมรรค มรรคมีองค์ ๘
ต่อไปจะเป็นการบรรยายที่เจาะลึกลงไปในรายละเอียดของมรรคแต่ละองค์
สามารถคลิกเข้าไปอ่านคำบรรยายที่ถอดไว้ ตามลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเห็นนิโรธ ผู้นั้นย่อมเห็นแม้นทุกข์ ย่อมเห็นแม้นสมุทัย ย่อมเห็นแม้นมรรค
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเห็นมรรค ผู้นั้นย่อมเห็นแม้ทุกข์ ย่อมเห็นสมุทัย ผู้นั้นย่อมรู้แจ้งในนิโรธ
แสดงว่าในอริยสัจ 4 เนี่ย จับตัวใดตัวหนึ่งเนี่ย อีกสามตัวจะติดขึ้นมาด้วยเลย
เหมือนกับคล้ายๆกับถ้าเป็นสร้อยไข่มุก 4 วง ดึงวงไหนขึ้นมา อีก 3 ตัวติดขึ้นมาด้วยหมดเลย
คล้ายๆเชือกผูกติดกันไว้ เพราะเป็นสายเกิดสายดับ ไปรู้ตรงไหนเนี่ย อีก 3 ตัวก็ขึ้นมาด้วย
เพราะฉะนั้น ถ้าเรามาเห็นสำนักไหน บางสำนักให้ไปรู้ทุกข์ บางสำนักให้ละสมุทัย
บางสำนักให้ไปอะไรอย่างเนี้ยนะครับ ก็จะเห็นเลยว่า ออ จับขึ้นมา จับขึ้นมา
บางสำนักก็ให้เจริญมรรค อีก 3 ตัวก็ขึ้นกันมาหมด..........
อันนี้คือคำตรัสของพระพุทธเจ้า แล้วเดี๋ยวเราจะไปเห็นในรายละเอียดของมรรคอีกครั้งหนึ่ง
ก่อนที่เราจะไปถึงตรงนั้น ... วันนี้ เราจะมาดูสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านตรัส
เพราะเรื่องนี้เนี่ย ผมอยากให้พวกเราทุกคนที่เป็นชาวพุทธเนี่ย กลับไปสู่สมัยพุทธกาลจริงๆ
ผมจะไม่เอาความคิดเห็นออกมาแสดงอะไรมากมายนัก เพียงแต่นอกจากจะทำให้ท่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น
เพราะฉะนั้น จากตรงนี้ไปเราจะมาสวดอริยมรรคมีองค์ 8 ด้วยกันก่อน
ซึ่งจะทำให้เราเข้าถึงแก่นแท้สิ่งที่ท่านสอนได้
ทุกท่านพนมมือแล้วสวดตามเสียงพระเลยนะครับ
[ เสียงสวดอริยมรรคมีองค์ 8 ] ฉบับเต็ม
จบส่วนของการบรรยายในภาพรวมของอัฐฐํงคิกมรรค มรรคมีองค์ ๘
ต่อไปจะเป็นการบรรยายที่เจาะลึกลงไปในรายละเอียดของมรรคแต่ละองค์
สามารถคลิกเข้าไปอ่านคำบรรยายที่ถอดไว้ ตามลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
ขอบพระคุณครับ ทำให้มีโอกาสได้ศึกษาพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ในเรื่องของทุกข์ และการพ้นทุกข์ ขอบคุณครับ
ตอบลบ